นายฉัตรนรินทร์ เรืองพริ้ม
5310063051
นายทศพร ทองแท้
5310060172
นายตะวัน
อรรฐาเมศร์ 5310061048
นายณัฐภาคย์
โพธิ์ศรี 5310063101
นายพงศกร
ฤทธิบันลือ 5310063192
Direct-firing Biomass Powerplant
พลังงานจากชีวมวล
เป็นพลังงานที่ได้จากพืชและสัตว์
หรือองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตหรือสารอินทรีย์ต่างๆ
รวมทั้งการผลิตจากการเกษตรและป่าไม้ เช่น ไม้ฟืน แกลบ กากอ้อย
วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอื่นๆ รวมถึง การนำมูลสัตว์
ของเสียจากโรงงานแปรรูปทางเกษตร และขยะ มาเผาไหม้โดยตรงและนำความร้อนที่ได้ไปใช้
หรือนำมาผลิตก๊าซชีวภาพ โดยขบวนการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีโดยอาศัยจุลินทรีย์
ชีวมวลแต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น
แกลบ เป็นชีวมวลที่ได้จากโรงสีข้าว
เมื่อนำข้าวเปลือก 1 ตัน ผ่านกระบวนการแปรรูปต่างๆ แล้ว จะใช้พลังงานทั้งสิ้น
30-60 kWh เพื่อให้ได้ข้าวประมาณ 650-700 กิโลกรัม
และจะมีวัสดุที่เหลือจากกระบวนการผลิตหรือ แกลบ ประมาณ 220 กิโลกรัม หรือเทียบเท่าพลังงานไฟฟ้าได้ 90-125 kWh
กาก (ชาน) อ้อย เป็นชีวมวลที่ได้จากโรงงานน้ำตาล เมื่อนำอ้อย 1
ตัน ผ่านกระบวนการแปรรูปต่างๆ แล้ว จะใช้พลังงานทั้งสิ้น 25-30 kWh และใช้ไอน้ำอีก 0.4 ตัน เพื่อให้ได้น้ำตาลทรายประมาณ 100-121 กก. และจะมีวัสดุเหลือจากการผลิตคือ กากอ้อย เหลือประมาณ 290 กิโลกรัมหรือได้พลังงานไฟฟ้าประมาณ 100 kWh
เปลือกปาล์ม กะลาปาล์ม และทลายปาล์ม เป็นชีวมวลที่ได้จากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม
เมื่อนำปาล์ม 1 ตัน
ผ่านกระบวนการแปรรูปต่างๆ แล้ว จะใช้พลังงานทั้งสิ้น 20-25 kWh ใช้ไอน้ำ 0.73 ตัน เพื่อได้น้ำมันปาล์ม 140-200 กิโลกรัม และจะเหลือเปลือกปาล์มประมาณ 190 กิโลกรัม ได้เป็นทลายปาล์ม 230 กิโลกรัม เทียบเป็นพลังงานไฟฟ้า 120 kWh
เศษไม้ เป็นชีวมวลที่ได้จากโรงเลื่อยไม้ เมื่อนำไม้ 1
ลูกบาศก์เมตร ผ่านกระบวนการแปรรูปต่างๆ แล้ว จะใช้พลังงานทั้งสิ้น 35-45 kWh เพื่อให้ได้ไม้แปรรูป 0.5 ลบ.ม. และจะเหลือเศษไม้ 0.5 ลบ.ม.เช่นกัน กลายมาเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ 80 kWh
การเผาไหม้คือวิธีที่เก่าแก่และถูกใช้มากที่สุดนับตั้งแต่อดีตกาล
เพื่อที่จะนำพลังงานออกมาจากชีวโมเลกุลชนิดของแข็งทั้งหลาย ระหว่างการเผาไหม้นั้นพลังงานส่วนมากจะถูกนำออกมาในรูปความร้อนซะเป็นส่วนใหญ่
โดยจะใช้วัฏจักรไอน้ำในการนำพลังงานออกมา เริ่มที่เผาชีวมวลแล้วใช้ความร้อนนั้นไปให้ความร้อนกับน้ำจนกลายเป็นไอน้ำที่มีความดันและอุณหภูมิที่สูง
ก่อนที่ไอน้ำจะขยายตัวที่กังหันใบพัดซึ่งการหมุนของกังหันใบพัดจะทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าขึ้น
หลังจากนั้นไอน้ำก็จะถูกทำให้เย็นลงแล้วนำกลับไปใช้ในวัฎจักรอีกครั้ง
โดยกังหันไอน้ำนี้จะสามารถสร้างพลังงานได้ 1MW ไปจนถึง 50MW ซึ่งจะขึ้นกับขนาดของโรงงาน
คุณภาพของชีวมวลก็มีผลเช่นกัน จะขึ้นอยู่กับตัวแปรเช่นแหล่งที่มาหรือการทำพรี-ทรีตเมนด้วยเพราะระบบการเผาไหม้นั้นจะจัดการกับเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพหลากหลายได้แตกต่างกัน
องค์ประกอบทางเคมีและปริมาณความชื้นของชีวมวลจะมีอิทธิผลต่อลักษณะการเผาไหม้เช่น
พลังงานสะสม ขี้เถ้าและมลพิษ เป็นต้น
คุณภาพและความเป็นเนื้อเดียวเดียวกันจากแหล่งที่มาจะเป็นตัวกำหนดความยุ่งยากซับซ้อนของการเผาไหม้ด้วย
กล่าวก็คือ
ถ้าเป็นโรงงานขนาดเล็กก็ยิ่งจำเป็นต้องใช้ชีวมวลที่มีคุณภาพและหนึ่งเดียวกันสูง
ตัวอย่างโรงงานไฟฟ้าชีวมวลในประเทศไทย
เอ.ที.ไบโอพาวเวอร์
โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยชีวมวลเป็นโครงการของ
รัฐบาลโดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน มีนโยบายให้เอกชนมาร่วมสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก
(Small Power Producers หรือ SPP) เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าโดย
ใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น แกลบ ชานอ้อย ซังข้าวโพด เหง้ามันสำปะหลัง กะลาปาล์ม
เศษไม้กิ่งไม้ เป็นต้น เป็นเชื้อเพลิง (เชื้อเพลิงชีวมวล)
และจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
เพื่อช่วยพัฒนาพลังงานทดแทน เสริมระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศให้มั่นคงยิ่งขึ้น
ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ เนื่องจากการใช้เชื้อเพลิงใน
การผลิตไฟฟ้าในปัจจุบันนี้ ร้อยละ 90 ใช้เชื้อเพลิงจากน้ำมันเตา ถ่านหิน
และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์ ( Fossil) ที่ใช้แล้วหมดไปและร่อยหรอลงทุกวัน เช่น ถ่านหิน
และก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย คงจะหมดภายใน 30 ปีหากไม่สามารถขุดหาเพิ่มเติมได้
เมื่อชีวมวลเป็นพลังงานทางเลือก
การสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลจะต้องพิจารณาถึงร่างผังเมืองที่มีมาตรฐานกำหนดการใช้ที่ดินสำหรับกิจการพลังงานทางเลือก
ซึ่งบางพื้นที่จะกำหนดให้สามารถสร้างได้และบางพื้นที่ไม่สามารถสร้างได้
ในขณะเดียวกันช่วงเวลาระหว่างที่มาตรการในการควบคุมผังเมืองหมดอายุหรือรอประกาศบังคับใช้ใหม่ควรมีข้อกำหนดที่ระบุไว้ชัดเจนเกี่ยวกับการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลนี้
ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2554 อ้างอิงจาก
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน www.eppo.go.th เพื่อประกอบการสัมมนา
เรื่อง ผลกระทบต่อสุขภาพจากนโยบายพลังงานชีวมวล วันที่ 2-3 เมษายน 2555 ณ
โรงแรมรามาการ์เด้น กรุงเทพมหานครฯ
ตารางที่ 1 แสดงปริมาณชีวมวลชนิดต่างๆ
(ยกเว้นไม้ฟืน) ที่ผลิตได้ในประเทศไทย ปีเพาะปลูก 2540/41
ชนิด
|
ผลผลิต1 /
|
ชีวมวล
|
พลังงานทั้งหมด
|
||
(1,000
ตัน)
|
ประเภท
|
(1,000
ตัน)
|
(1,000
GJ)
|
(1,000
toe)
|
|
อ้อย
|
46,873
|
ชานอ้อย
|
11,718
|
108,392
|
2,566
|
ข้าวเปลือก2/
|
23,580
|
แกลบ
|
5,423
|
77,386
|
1,832
|
ฟางข้าว
|
10,540
|
107,930
|
2,555
|
||
มันสำปะหลัง
|
15,590
|
ลำต้นมันสำปะหลัง
|
1,247
|
22,970
|
544
|
ปาล์มน้ำมัน
|
2,681
|
ทะลายปาล์ม
|
1,147
|
20,485
|
485
|
เส้นใยปาล์ม
|
394
|
6,942
|
164
|
||
กะลาปาล์ม
|
131
|
2,418
|
57
|
||
มะพร้าว
|
1,386
|
กาบมะพร้าว
|
502
|
8,147
|
193
|
กะลามะพร้าว
|
222
|
3,980
|
94
|
||
รวม
|
90,110
|
31,324
|
358,650
|
8,490
|
ข้อดีของเชื้อเพลิงชีวมวล
-มีปริมาณกำมะถันต่ำ
-ราคาถูกกว่าพลังงานเชิงพาณิชย์อื่น
ต่อหน่วยความร้อนที่เท่ากัน
-มีแหล่งผลิตอยู่ในประเทศ
-พลังงานจากชีวมวลจะไม่ก่อให้เกิดสภาวะเรือนกระจก
และแทบจะไม่ทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศหรืออากาศเป็นพิษเลยในกรณีมีการปลูกทดแทน
ที่มา : 1.
สถิติการเกษตรของประเทศไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและสหกรณ์
2. รวมผลผลิตข้าวเปลือกจากนาปีและนาปรัง
2. รวมผลผลิตข้าวเปลือกจากนาปีและนาปรัง
5. มูลนิธิพลังงานและสิ่งแวดล้อม(มพส.) www.efe.or.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น