SOLAR THEROMAL POWERPLANTS
สมาชิกในกลุ่ม
1.นายธรรมศักดิ์ สมนันท์ 53-1006-118-8
2.นายจิรวัตน์ ลายทิพย์ 53-1006-303-6
3.นายนัฐชัย เข็มพรม 53-1006-005-7
4.นางสาวพัชรกันย์ บัวศรีจันทร์ 53-1006-315-0
5.นางสาววิไลลักษณ์ พันธุ์สถิตย์วงศ์ 53-1006-323-4
Introduction
ดวงอาทิตย์ให้พลังงานจำนวนมหาศาลแก่โลกของเรา
พลังงานจากดวงอาทิตย์จัดเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญที่สุด
เป็นพลังงานสะอาดไม่ทำปฎิกิริยาใดๆอันจะทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าส่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกได้ใช้ประโยชน์โดยตรงจากแสงอาทิตย์
แต่ปริมาณที่ใช้อยู่นั้นน้อยเสียเหลือเกินเมื่อเทียบกับปริมาณพลังงานที่ได้มา มนุษย์รู้จักการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อกิจกรรมต่างๆ
ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา
ถึงอย่างนั้นมนุษย์ก็ยังมีการคิดค้นเทคโนโลยีต่างๆเพื่อที่จะนำเอาพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด
ทั้งในรูปแบบของพลังงานความร้อนโดยตรงหรือการเปลี่ยนรูปให้เป็นพลังงานไฟฟ้า
ซึ่งในอนาคตเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์จะเป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้อย่างแพร่หลายกันมากขึ้น
เพราะนอกจากจะไม่ค้องเสียค่าใช้จ่ายของต้นทุนพลังงานแล้ว
ยังเป็นการช่วยลดมลพิษของโลกอีกด้วย
จุดเด่นของเซลล์แสงอาทิตย์
1.แหล่งพลังงานได้จากดวงอาทิตย์
เป็นแหล่งพลังงานที่ไม่มีวันหมดและไม่เสียค่าใช้จ่าย
2.เป็นแหล่งพลังที่สะอาดไม่ก่อให้เกิดมลภาวะแก่สิ่งแวดล้อม
Solar Thermal Power Plants เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ความร้อนในการผลิตกระแสไฟฟ้า
โดยนำความร้อนที่ได้จากแสงอาทิตย์ไปขับ turbine เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
หลักการทำงาน
โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนแสงอาทิตย์แบ่งออกเป็น 3 ระบบ
1.แบบ Parabolic Troughs
2. แบบ Central Receivers
แบบ Central Receivers หรือ
Power Tower ประกอบด้วยตัวรับความร้อนที่ติดตั้งอยู่กับที่ตั้งอยู่บนหอคอยที่ล้อมรอบด้วยแผงกระจกขนาดใหญ่เป็นจํานวนมากที่เรียกกันว่าเฮลิโอสแตท
เฮลิโอสแตทจะหมุนตามดวงอาทิตย์และสะท้อนรังสีไปยังตัวรับความร้อน ซึ่งภายในบรรจุของเหลวทํางานทําหน้าที่ดูดซับพลังงานความร้อนไว้
ของเหลวที่ดูดซับพลังงานความร้อนที่รับมาจากตัวรับความร้อนจะส่งต่อไปยังเครื่องกําเนิดไฟฟ้าแบบกังหันหรือนําที่ไปเก็บไว้ในถังเก็บกักเพื่อนํามาใช้งานต่อไป
3.แบบ Parabolic Dishes
Economic
Gemasolar หนึ่งในโรงไฟฟ้าแบบ Solar-thermal เชิงพาณิชย์แห่งแรกในสเปน ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 19.9 เมกะวัตต์
ใช้กระจกกว่า 2,650 แผ่นเป็นตัวสะท้อนความร้อนไปยังตัวเก็บความร้อนที่หอคอย
ซึ่งอยู่บริเวณศูนย์กลางแผงกระจก และมีความสูงอยู่ที่ประมาณ 450 ฟุต หรือ 140 เมตร รังสีความร้อนที่ส่งไปยังหอคอย
จะทำให้อุณหภูมิของสารละลายเกลือที่อยู่ในแท่งหอคอยสูงกว่า 500 องศาเซลเซียส จากนั้นสารละลายเกลือที่มีความร้อนสูง
จะถูกหมุนเวียนส่งไปเก็บที่ถังเก็บขนาดใหญ่
ที่ถูกออกแบบพิเศษให้รักษาอุณหภูมิสารละลายเกลือไว้
ซึ่งนำมาใช้ขับเคลื่อนกังหันไอน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในตอนกลางคืนได้นานกว่า 15
ชั่วโมง โดยปราศจากความร้อนที่เก็บเพิ่มขึ้นจากแสงอาทิตย์
วิธีการนี้ทำให้ต้นทุนการเก็บพลังงานถูกกว่าการเก็บพลังงานไฟฟ้าที่ได้มาจากเซลล์แสงอาทิตย์โดยตรง
ซึ่งต้องใช้แบตเตอรี่
ล่าสุดบริษัท Halotechnics คิดหาวัสดุกักเก็บความร้อนใหม่ ที่ทำจากส่วนประกอบของเกลือและแก้ว
สามารถเก็บความร้อนได้สูงถึง 1,200 องศาเซลเซียส
เมื่อเทียบกับสารประกอบเกลือแบบที่ใช้ในปัจจุบัน ที่เก็บความร้อนได้สูงสุดเพียง 565
องศาเซลเซียส
วัสดุดังกล่าวได้จากการทดลองหาวัสดุผสมมากกว่า
18,000 ชนิด กระทั่งเจอวัสดุผสมที่ดีที่สุดดังกล่าว
ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้า โดยลดจำนวนและขนาดของกระจกลงได้มากถึงร้อยละ 25
ทำให้ต้นทุนลดเหลือ 6 เซนต์ หรือประมาณ 2
บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง
นอกจากนี้
ราคาต้นทุนของวัสดุเกลือผสมแบบใหม่นี้ต่ำกว่าเกลือที่ใช้อยู่ร้อยละ 20 จากเดิมราคาตันละ 1,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 30,000
บาท) และหนึ่งโรงงานต้องใช้ถึง 30,000 ตัน แต่การที่โรงไฟฟ้าทำงานที่อุณหภูมิสูงขึ้น
ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนทางวิศวกรรมให้ท่อนำส่งทนอุณหภูมิสูงขึ้นด้วย
ส่วนประเทศไทย บริษัทไทยโซล่าร์เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (Thai Solar Energy: TSE) เป็นรายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ผลิตกระแสไฟฟ้าเทคโนโลยี CSP ด้วยขนาดใหญ่เป็นอันดับ 27 ของโลก โดยมีโรงงานผลิตอยู่ที่อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี ใช้ตัวสะท้อนแสง (reflector) แบบรางพาราโบลา (parabolic through) ซึ่งเป็นที่นิยมของตลาดค่อนข้างมาก เนื่องจากติดตั้งง่ายและดูแลง่ายกว่า
แหล่งอ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น