วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ไบโอดีเซล (BIO DIESEL)

 นายพูลศักดิ์ อินเดริส          53-1006-010-7
 นายชยพล ศิริกูลธรรมา       53-1006-116-2
 นายภาสกร หมัดเซ็น           53-1006-011-5
 นายณัฐพล เพชรสุข            53-1006-218-6
 น.ส.ญานิกา กลิ่นทุม           53-1006-117-0




ไบโอดีเซล (BIO DIESEL)



ไบโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิงเหลวที่ใช้ได้เหมือนน้ำมันดีเซลธรรมดา  แต่ผลิตจากวัสดุทางชีวภาพ ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Bio”  หรือ   ไบโอจึงได้ชื่อว่า ไบโอดีเซลซึ่งทำได้โดยน้ำมันพืช หรือน้ำมันสัตว์ ซึ่งนำน้ำมันประกอบอาหารที่ใช้แล้วดังกล่าวมาผ่านกระบวนการทางเคมีกลายเป็นไบโอดีเซล

ประเภทของไบโอดีเซล    แบ่งเป็น 3 ประเภท 

1. น้ำมันพืชหรือน้ำมันจากไขมันสัตว์

  ไบโอดีเซลประเภทนี่คือ น้ำมันพืชแท้ ๆ เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม น้ำมันถั่วลิสง หรือน้ำมันถั่วเหลือง หรอน้ำมันจากไขมันสัตว์ เช่น น้ำมันหมู ซึ่งสามารถนำมาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลได้เลยโดยไม่ต้องผสมหรือเติมสารเคมีอื่น ๆ ไม่ต้องนำมาแปลงสมบัติของน้ำมันอีก

2. ไบโอดีเซลแบบลูกผสม

  ไบโอดีเซลประเภทนี้เป็นลูกผสมระหว่างน้ำมันพืชหรือ น้ำมันจากไขมันสัตว์ กับน้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล หรืออะไรก็ได้ เพื่อให้ไบโอดีเซลที่ได้มี คุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลมากที่สุด
เราสามารถนำไบโอดีเซลมาผสมในน้ำมันดีเซลในสัดส่วนที่ต้องการ กรณีที่ใช้ไบโอดีเซลล้วนๆ เรียกว่า ไบโอดีเซล 100% หรือ B100 ซึ่งเหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลรอบต่ำใช้หรือพวกเครื่องจักรกลทางการเกษตร  แต่หากต้องการหมุนเร็วหรือใช้ในรถยนต์ จะผสมในสัดส่วนไบโอดีเซล 5 ส่วนต่อน้ำมันดีเซล 95 ส่วน จะได้เป็นไบโอดีเซลสูตร B5 ซึ่งเป็นสูตรที่ได้ทดลองในรถยนต์แล้วว่า สามารถใช้แทนน้ำมันดีเซลได้เป็นอย่างดี ไม่มีปัญหา

3. ไบโอดีเซลแบบเอสเทอร์

 ไบโอดีเซลประเภทนี้มีกระบวนการที่ยุ่งยากมากต้องผ่าน กระบวนการทางเคมีที่เรียกว่า Tranesterification คือ การนำน้ำมันจากพืชหรือสัตว์ไปทำ ปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์ โดยใช้กรดหรือด่างเป็นตัวเร่งปฏิกริยาทำให้ได้เอสเทอร์








ไบโอดีเซลเอสเทอร์มีคุณสมบัติที่เหมือนกับน้ำมันดีเซลมากที่สุด แต่ให้การเผาไหม้ที่สะอาดกว่า ไอเสียมีคุณภาพดีกว่าเพราะออกซิเจนให้การสันดาปที่สมบูรณ์กว่าน้ำมันดีเซล จึงทำให้เกิดคาร์บอนมอน-ออกไซด์น้อย และในไบโอดีเซลเอสเทอร์ไม่มีกำมะถัน จึงไม่มีปัญหาเรื่องซัลเฟต นอกจากนี้ยังมีเขม่าคาร์บอนน้อย จึงไม่ทำให้เกิดการอุดตันของระบบไอเสีย และยังช่วยยืดอายุ การทำงานของเครื่องยนต์ได้อีกด้วยและนอกจากนี้คุณสมบัติสำคัญของไบโอดีเซล คือ สามารถย่อยสลายได้เองตามกระบวนการชีวภาพในธรรมชาติและไม่เป็นพิษ จึงเป็นเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""





พืชที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล

      ประเทศไทยมีพืชน้ำมันที่สามารถใช้ผลิตไบโอดีเซลได้หลากหลายมากมาย ปาล์มน้ำมันและสบู่ดำเป็นพืชน้ำมันตัวเด่นในเรื่องนี้ แต่ก็มีพืชอื่นๆด้วยเช่น





                                                                                                   


  ถั่วลิสง   เมล็ดมีน้ำมัน   50 – 60 %แต่เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกได้ลดลงอย่างต่อเนื่องปริมาณที่ผลิตได้จึงไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ภายในประเทศ





                                                        

                                                     ● งา
ผลผลิตจำนวน 65% ส่งออกไปยังต่างประเทศ น้ำมันงามีคุณค่าทางโภชนาการสูงเหมาะแก่การนำไปปรุงอาหารมากกว่าที่จะใช้ผลิตไบโอดีเซล







  


        ● ทานตะวัน   เป็นพืชที่ปลูกเพื่อใช้ในการบริโภค ตลาดมีความต้องการสูง ในขณะที่ปริมาณการเพาะปลูกไม่ได้เพิ่มขึ้น จึงไม่เหมาะที่จะนำมาทำเป็นไบโอดีเซล




ละหุ่ง
  เป็นพืชที่ตลาดโลกมีความต้องการสูงมาก โดยนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ อุตสาหกรรมยา จึงทำให้ปริมาณไม่พียงพอและไม่ได้นำไปใช้ในการผลิตไบโอดีเซลมากนัก






ถั่วเหลือง  เป็นพืชที่มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง ในขณะที่ผลผลิตของไทยมี    การลดปริมาณลงทุกปี จึงไม่เพียงพอต่อความต้องการ และไม่มีศักยภาพพอที่จะเป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นไบโอดีเซลในไทย









มะพร้าว
เป็นพืชที่สำคัญ ปลูกได้ทุกภาคของประเทศ โดยไทยสามารถผลิตได้มากเป็นอันดับ 5 ของโลก และมีการขยายตัวทุกปี แต่ผลผลิตของมะพร้าวมักนำมาทำเนื้อมะพร้าวแห้งจำหน่าย หากจะนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล รัฐจะต้องเร่งส่งเสริมให้มีการปลูกมะพร้าวเพิ่มมากขึ้น




สาหร่าย
เป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจจากทั่วโลกเพื่อนำมาผลิตไบโอดีเซล ซึ่งสามารถให้ผลผลิตต่อไร่มากกว่าปาล์มน้ำมันได้ถึง 10 - 30 เท่า แต่อย่างไรก็ตามต้นทุนการสกัดน้ำมันจากสาหร่ายยังคงสูงอยู่ ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยต่อไป นอกจากนี้การเพาะสาหร่ายยังช่วยลดสารพิษในแหล่งน้ำ และลดก๊าซเรื่อนกระจกในชั้นบรรยากาศได้อีกทางด้วย




ปาล์มน้ำมัน
เป็นพืชหลักที่ภาครัฐส่งเสริมให้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล พืชนี้เติบโตได้ดีในสภาพ    อากาศร้อนชื้นจึงเหามะสมที่จะปลูกในภาคใต้ ปัจจุบัน        ปลูกมากที่ กระบี่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร สตูลและ    ตรัง จาก      ราคาที่ดีกว่าพืชชนิดอื่น เช่น ยางพาราและข้าว เกษตรกร    จึงหันมาสนใจปลูกปาล์มน้ำมันกันมากขึ้น

            ปาล์มน้ำมันสามารถนำไปผลิตอย่างอื่นได้ด้วย เช่น ทำน้ำมันพืชเพื่อใช้ในการประกอบอาหาร เนยขาว นมข้นหวาน ไอศกรีม ครีมเทียม นมเทียม  และสบู่
            สำหรับการนำไปผลิตไบโอดีเซลนั้น น้ำมันปาล์มเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล จึงสามารถผสมได้กับน้ำมันดีเซลได้สูงถึง 20% (เรียกว่า B20) โดยไม่ก่อปัญหากับเครื่องยนต์

            นอกจากนี้ผลผลิตของปาล์มยังเก็บง่ายคือ ผลจะสุกพร้อมกันจึงเก็บได้ทีละหลายทะลาย ข้อดีอีกอย่างหนึ่งก็คือต้นปาล์มมีอายุยาวนานถึง 25 ปีและเริ่มให้ผลผลิตได้ตั้งแต่ปีที่ 4 เรื่อยไปจนให้ผลผลิตสูงสุดในปีที่ 11 จากนั้นก็จะลดลงไปตามลำดับ 



สบู่ดำ


หากปาล์มน้ำมันเป็นพระเอกในการเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตไบโอดีเซล สบู่ดำก็เปรียบเสมือนพระรอง สบู่ดำเป็นพืชที่ชาวโปรตุเกตุได้นำเข้ามาในประเทศไทยในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา สบู่ดำเป็นพืชที่ชาวโปรตุเกตนำเข้ามาในประเทศไทยในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาเพื่อให้คนไทยปลูก ออกดอกในฤดูฝน ผลสบู่ดำมีสีเขียว เมื่อสุกจะมีสีเหลืองและดำในที่สุด แต่ละผลจะมี 3 เมล็ด ถ้าตากแห้งแล้วเมล็ดสีดำ 1  กิโลกรัมจะมีประมาณ 1,200 – 1,400 เมล็ด ซึ่งสามารถนำมาหีบและสกัดเป็นน้ำมันสบู่ดำใช้แทนน้ำมันดีเซลในเครื่องจักรกลการเกษตรได้น้ำมันดิบประมาณ 0.25 – 0.35 ลิตรต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม





                   ที่ผ่านมาสบู่ดำยังเป็นเพียงพืชที่ปลูกหัวไร่ปลายนา เรายังไม่มีการปลูกต้นสบู่ดำอย่างจิงจัง ทำให้เมล็ดสบู่ดำมีไม่มากพอต่อการสกัด เป็นน้ำมันมาใช้จริงในชีวิตประจำวันแต่ปัจจุบัน ภาครัฐได้มีนโยบายสนับสนุนให้มรการวิจัยพัฒนาพันธุ์ที่เหมาะสมแล้วใน 2-3 พื้นที่









""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""


การใช้น้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ที่ใช้แล้วมาผลิตเป็นไบโอดีเซล

             เวลาเราใช้นำมันพืชหรือน้ำมันจากไขมันสัตว์ทำกับข้าว เมื่อทำเสร็จแล้วน้ำมันที่เหลือเราก็มักโยนทิ้งลงท่อระบายน้ำ ก่อให้เกิดเป็นมลพิษทางน้ำ ขณะที่บางคนก็เก็บเอามาใช้ซ้ำ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างยิ่งเพราะได้มีการพิสูจน์ทางการแพทย์แล้วว่าการใช้น้ำมันทอดซ้ำทำให้เกิดมะเร็ง
            ทางออกของปัญหานี้คือต้องรวบรวมน้ำมันที่ใช้แล้วพวกนี้มาผ่านกนะบวนการทางเคมีเพื่อผลิตเป็นเอสเธอร์ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซล และสามารถใช้แทนน้ำมันดีเซลได้ จึงเรียกว่าไบโอดีเซล  โดยปกติน้ำมันใช้แล้ว 10 ลิตร ผลิตไบโอดีเซลได้ 0.9 ลิตร

            จากการสำรวจปริมาณน้ำมันพืชใช้แล้วในประเทศไทย คาดว่ามีประมาณ 74 ล้านลิตรต่อปี ซึ่งหากรวบรวมมาได้ทั้งหมด นอกจากจะลดของเสีย ลดมลพิษ แล้วยังผลิตไบโอดีเซลได้อีก











""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

การทดสอบไบโอดีเซล

            สถาบันวิจัยของ ปตท. ที่ อำเภอวังน้อย จังหวัดอยุธยา เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ใช้ทดสอบไบโอดีเซลในระดับห้องปฎิบัติการ ซึ่งพบว่าสารพิษในไอเสียจากเครื่องยนต์ที่ใช้ไบโอดีเซลมีน้อยกว่ากรณีใช้น้ำมันดีเซล เช่น ปริมาณควันดำต่ำกว่ารวมทั้งปริมาณคาร์บอนมอนออกไซด์และฝุ่นขนาดเล็กน้อยกว่า และไบโอดีเซลไม่มีสารกำมะถันที่ทำให้เกิดฝนกรด จึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า


ตารางเปรียบเทียบข้อดีของการใช้ไบโอดีเซลเทียบเทียบกับน้ำมันดีเซล








""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

มาตรฐานไบโอดีเซล
เมื่อปี พ.ศ.2550 ภาครัฐได้กำหนดมาตรฐานของไบโอดีเซลไว้ 2 ประเภทหรือ 2 สูตรดังนี้

น้ำมันไบโอดีเซล B

       เพื่อจำหน่ายตามปั๊มน้ำมันทั่วไป ต้องผ่านการตรวจคุณสมบัติต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถใช้กับรถยนต์ดีเซลล์โดยไม่เกิดปัญหา




น้ำมันไบโอดีเซลล์ B100  


         ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับเครื่องยนต์ทางการเกษตรเท่านั้น  เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นความแตกต่างระหว่างไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์ทางการเกษตร (B100) และไบโอดีเซลทีใช้ในรถยนต์ (B5) จึงได้มีการเติมสีม่วงลงในไบโอดีเซล B100หรือที่เรียกว่า ไบโอดีเซลชุมชน



ก่อนที่ผู้ค้าน้ำมันจะผลิตและจำหน่ายไบโอดีเซลได้ จำเป็นต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพที่เหมาะสมและอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน





""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

ทั่วโลกวางใจใช้ไบโอดีเซล

            ในต่างประเทศมีการผลิตและจำหน่ายไบโอดีเซลมานานพอสมควรแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เบลเยี่ยม สวีเดน ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย และ เยอรมัน
โดยนิยมนำไปผสมกับน้ำมันดีเซลในสัดส่วนต่างๆ อาทิ B2 (ผสมไบโอดีเซล 2 ส่วนต่อน้ำมันดีเซล 98 ส่วน) มีจำหน่ายทั่วไปในรัฐมินนิโซตา ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนB5 (ผสมไบโอดีเซล 5 ส่วนต่อน้ำมันดีเซล 95 ส่วน) ในประเทศฝรั่งเศส โดนรถขนส่งมวลชนของฝรั่งเศสได้ใช้ไบโอดีเซลเพิ่มขึ้นถึงสูตร 40
            นอกจากนี้การใช้ไบโอดีเซล B20 และไบโอดีเซล100%หรือ B100 ก็เป็นที่นิยมในประเทศเยอรมัน และออสเตรเลีย
            ประเทศเยอรมันเป็นประเทศที่ผลิตและใช้ไบโอดีเซลมากที่สุดในโลก คิดเป็น 60% ของปริมาณการใช้น้ำมันในประเทศ รองลงมาเป็นประเทศสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส ส่วนอัตราการผลิตและใช้ไบโอดีเซลของโลกนี้เพิ่มสูงขึ้นถึง 30% ซึ่งคาดการว่าในอนาคตอันใกล้นี้ สหรัฐอเมริกา จีน และอินเดีย จะเป็นกลุ่มผู้บริโภคไบโอดีเซลรายใหญ่ของโลก






แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์กระทรวงพลังงาน














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น