วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

River Power Plant

River Power Plant

1. นิธิพงศ์ ช่างหล่อ                    5310060149
2. กฤษฎา บุญธำรง                    5310060164
3. องอาจ กวินปณิธาน                5310060214
4. เจษฎา พรานนท์สถิตย์             5310061154
5. ณภัทร บรรจงกิจ                     5310063085


Introduction
พลังงานน้ำ เป็นรูปแบบหนึ่งการสร้างกำลังโดยการอาศัยพลังงานจากการเคลื่อนที่ของน้ำ ปัจจุบัน พลังงานน้ำส่วนมากจะถูกใช้เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้แล้วพลังงานน้ำยังถูกนำไปใช้ในกรมชลประทาน การสี การทอผ้า เป็นต้น พลังงานของมวลน้ำที่เคลื่อนที่ได้ถูกมนุษย์นำมาใช้มานานแล้วนับศตวรรษ โดยได้มีการสร้างกังหันน้ำ (Water Wheel) เพื่อใช้ในการงานต่างๆ ในอินเดีย และชาวโรมันก็ได้มีการประยุกต์ใช้เพื่อใช้ในการโม่แป้งจากเมล็ดพืชต่างๆ ส่วนผู้คนในจีนและตะวันออกไกลก็ได้มีการใช้พลังงานน้ำเพื่อสร้าง Pot Wheel เพื่อใช้ในวิดน้ำเพื่อการชลประทาน โดยในช่วงทศวรรษ 1830 ซึ่งเป็นยุคที่การสร้างคลองเฟื่องฟูถึงขีดสุด ก็ได้มีการประยุกต์เอาพลังงานน้ำมาใช้เพื่อขับเคลื่อนเรือขึ้นและลงจากเขา โดยอาศัยรางรถไฟที่ลาดเอียง (Inclined Plane Railroad : Funicular) โดยตัวอย่างของการประยุกต์ใช้แบบนี้ อยู่ที่คลอง Tyrone ในไอร์แลนด์เหนือ อย่างไรก็ตามเนื่องจากการประยุกต์ใช้พลังงานน้ำในยุคแรกนั้นเป็นการส่งต่อพลังงานโดยตรง (Direct Mechanical Power Transmission) ทำให้การใช้พลังงานน้ำในยุคนั้นต้องอยู่ใกล้แหล่งพลังงาน เช่น น้ำตก เป็นต้น ปัจจุบันนี้ พลังงานน้ำได้ถูกใช้เพื่อการผลิตไฟฟ้า ทำให้สามารถส่งต่อพลังงานไปใช้ในที่ที่ห่างจากแหล่งน้ำได้
พลังงานน้ำเกิดจากพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ให้ความร้อนแก่น้ำและทำให้น้ำกลายเป็นไอน้ำลอยตัวสูงขึ้น มวลน้ำที่อยู่สูงขึ้นจากจุดเดิม (พลังงานศักย์) เมื่อมวลไอน้ำกระทบความเย็นก็จะเปลี่ยนเป็นของเหลวอีกครั้ง และตกลงมาเนื่องจากเนื่องจากแรงดึงดูดของโลก (พลังงานจลน์) การนำเอาพลังงานน้ำมาใช้ประโยชน์ทำได้โดยการเปลี่ยนพลังงานจลน์ของน้ำที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำให้เป็นกระแสไฟฟ้า อุปกรณ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนนี้คือ กังหันน้ำ (Turbines) น้ำที่มีความเร็วสูงจะผ่านเข้าท่อแล้วถ่ายทอดพลังงานจลน์เข้าสู่กังหันน้ำ ซึ่งจะไปหมุนขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอีกทอดหนึ่ง ในปัจจุบันพลังงานที่ได้จากแหล่งน้ำที่รู้จักกันโดยทั่วไปคือ พลังงานน้ำตก พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง พลังงานคลื่น

Conceptของ River Powerplant
     แนวคิดในการทำงานของ Run-of-the-river hydroelectricity หรือROR เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำในอุดมคติ ซึ่งทำงานโดยผันน้ำจากลำน้ำผ่านท่อส่งไปยังกังหันผลิตไฟฟ้า แล้วปล่อยลงสู่แม่น้ำดังเดิม
     โรงไฟฟ้าแบบนี้มีความแตกต่างกับเขื่อนขนาดใหญ่คือ ไม่จำเป็นที่จะต้องมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่บริเวณเหนือสันเขื่อน  แต่ข้อแตกต่างที่สำคัญที่สุดคือ ระดับความแตกต่างของน้ำ(Head) ที่มีค่าน้อยกว่าเขื่อนทั่วไป จึงมักเลือกใช้ Turbine ชนิดKaplan Turbine ซึ่งมีจุดเด่นคือ สามารถทำงานได้ดีที่อัตราการไหลสูง แต่head ต่ำ

ลักษณะของโครงการจะสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดหลักๆคือ
- แบบไม่มีอ่างเก็บน้ำ โรงไฟฟ้าชนิดนี้จะเน้นผลิตไฟฟ้าสำหรับใช้ในช่วง peak load ซึ่งเป็นช่วงนี้มีผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมากพร้อมๆกัน เช่น ในช่วงฤดูร้อน มีการเปิดเครื่องรับน้ำอย่างต่อเนื่องและเป็นเวลานาน
- แบบมีอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก โรงไฟฟ้าชนิดนี้จะผลิตไฟฟ้าสำหรับใช้ทั้งในช่วง  peak load และbase load เนื่องจากมีอ่างเก็บน้ำช่วยสะสมพลังงานไว้สำหรับผลิตไฟฟ้าในช่วง base load


วีดีโออธิบายการทำงาน



 ข้อดี
1.เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เหมือนกับโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำอื่นๆ ที่ไม่ต้องเผาใหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ทำให้ไม่มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะโลกร้อน 
2.ไม่ต้องการพื้นที่เก็บน้ำขนาดใหญ่ จึงสามารถลดปริมาณพื้นที่น้ำท่วมเหนือเขื่อนลงได้ เป็นผลทำให้ไม่ต้องย้ายผู้อยู่อาศัยบริเวณเหนือเขื่อนออก และลดการทำลายพื้นที่ป่าไม้

ข้อเสีย
1. กำลังการผลิตไฟฟ้าไม่คงที่ เนื่องจากมีที่กักเก็บพลังงานน้อย ทำให้ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าให้ตรงตามอุปสงค์ในขณะนั้นได้และกำลังการผลิตแปรผันตามฤดูกาล เช่น โรงไฟฟ้าจะผลิตไฟฟ้าได้มากในช่วงฤดูน้ำหลาก แต่จะผลิตไฟฟ้าได้น้อยในช่วงฤดูแล้ง
2. สภาพพื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้า เนื่องจากกำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้มาจากความดัน (head) และอัตราการไหลของน้ำจึงต้องการพื้นที่ที่มีความลาดเอียงมากเพื่อลดค่าก่อสร้าง
3. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หากก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่จะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เช่น โครงการโรงไฟฟ้าของ Plutonic Power Corp. ที่ Bute Inlet, British Columbia, Canada มีการแบ่งทางไหลของแม่น้ำออกเป็น 17 สาย เพื่อเข้าสู่อุโมงค์และท่อส่งของโรงไฟฟ้า ทำให้อัตราการไหลของแม่น้ำลดลง น้ำในแม่น้ำจึงมีอุณหภูมิสูงขึ้นเกินกว่าที่ปลาจะอาศัยอยู่ได้ในช่วงฤดูร้อน

โครงสร้างและเทคโนโลยี


โครงสร้างของRiver power plant นั้นมีลักษณะเดียวกันกับเขื่อนขนาดใหญ่ ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้
1.Headpound : สันเขื่อน : เป็นส่วนโครงสร้างสำหรับการผันน้ำ หรือกักเก็บน้ำ
2.Intake : ทางน้ำเข้า : 
3.Penstock : ท่อส่งน้ำ : ทำหน้าที่ส่งน้ำจากเขื่อนมายังโรงผลิตไฟฟ้า ในโครงการRiver plant หลายแห่ง ท่อส่งน้ำนี้มีความยาวมาก เนื่องจากตัวเขื่อนและโรงผลิตไฟฟ้า อยู่ห่างกันมาก เนื่องจากต้องการHead ที่มากพอที่จะใช้ผลิตไฟฟ้า
4.Power house : โรงผลิตไฟฟ้า : ส่วนอาคารสำหรับผลิตไฟฟ้า
5.Turbine : กังหัน : ทำหน้าที่เปลี่ยนการไหลของน้ำให้เป็นพลังงานกล
6.Draft Tube : ทางน้ำออกจาก Turbine มีลักษณะบานออกเพื่อลดความเร็วการไหลของน้ำ
7.Generator : เครื่องกำเนิดไฟฟ้า : เปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้า 
8.Transformer : หม้อแปลงแรงดันสูง : ปรับแรงดันของไฟฟ้าที่ผลิตได้ ให้เหมาะสมต่อระบบส่งไฟฟ้า


ตัวอย่างโรงไฟฟ้าที่น่าสนใจ

โรงไฟฟ้า Belo Monte
  
- มี 3 เขื่อน โดยเขื่อนหลักคือ Belo Monte
- ตำแหน่งที่ตั้ง Xingu river, state of Para, Brazil

กำลังการผลิตไฟฟ้าสูงสุด 11,233 MW
 ประกอบด้วย
- 20 vertical Francis Turbines ขนาด 550 MW
7 Kaplan Bulb Turbines ขนาด 25.9 MW






โรงไฟฟ้า Gasselsdorf 


ตำแหน่งที่ตั้ง: Schwarze Sulm river  รัฐ Styria ประเทศ Austria 

อดีตโรงสีเก่าaซึ่งถูกสร้างขึ้นในปี1918 แล้วถูกเปลี่ยนให้เป็นโรงผลิตไฟฟ้า ลักษณะ River Power Plant ในปี1984 โดยวิศวะกรรายหนึ่ง

กำลังการผลิต : 1MW


อ้างอิง :
http://en.wikipedia.org/wiki/Run-of-the-river_hydroelectricity
http://www.verbund.com/pp/en/run-of-river-power-plant/gasselsdorf

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ29 มีนาคม 2562 เวลา 00:17

    Have you tried your AR??
    If not try it now for free!!!!
    With UniteAR you can make your project intresting
    UniteAR is the world’s finest automated Augmented Reality platform that gives you the liberty to personalize your creative ideas, which will be overlaid into the real world with the help of Augmented Reality.
    https://www.unitear.com/
    UniteAR

    ตอบลบ