สมาชิกกลุ่ม
5310060065 ตุลยวัต โพภา
5310060156
กฤติน แจ้งยอดสุข
5310062103
นายศุภกร สงวนศักดิ์โยธิน
5310062129 อรรถกานต์ คำตา
5310062145
นายนนทวิชญ์ วงศ์สุนันท์
Introduction
พลังน้ำจัดเป็นพลังงานทางอ้อมของพลังงานแสงอาทิตย์
ซึ่งพลังงานแสงอาทิตย์ดังกล่าวจะเป็นตัวขับเคลื่อนวัตรจักรของน้ำในธรรมชาติ
หลักการของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำคือการดึงพลังงานในส่วนนี้มาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า
วัตรจักรของน้ำจะประกอบด้วย น้ำที่เป็นของเหลวจากแหล่งน้ำ เช่นทะเล แม่น้ำ
ได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ ทำให้น้ำระเหยกลายเป็นไอ ไอน้ำจะก่อตัวเป็นเมฆ
เมื่อก้อนเมฆมีขนาดใหญ่ขึ้นก็จะตกลงมาเป็นฝน
น้ำฝนตกลงและรวมกันเป็นแม่น้ำก็จะไหลลงสู่แหล่งน้ำ เป็นอย่างนี้เรื่อยไป ดังนั้น
พลังงานน้ำที่ดึงออกมาจาก วัฎจักรน้ำจึงเป็นพลังงานหมุนเวียนที่ใช้ได้อย่างไม่มีหมด
การดึงพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานน้ำทำได้โดยการสร้างเขื่อนขวางทางแม่น้ำไว้
ทำให้น้ำสะสมตัวเป็นอ่างเก็บน้ำ เมื่อมีความต้องการที่จะผลิตพลังงานไฟฟ้า
เขื่อนจะเปิดเพื่อระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำลงสู่แม่น้ำเบื้องล่าง
ระหว่างทางที่น้ำจากอ่างเก็บน้ำสู่แม่น้ำ
น้ำจะเข้าไปปั่นกังหันเผื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
เขื่อนนอกจากจะผลิตกระแสไฟฟ้าข่ายให้ระบบไฟฟ้าโดยตรงแล้ว
เขื่อนสามารถเป็นระบบเก็บไฟฟ้าได้ด้วย ระบบแบบนี้เรียกว่า Pumped Storage Systems ในยามที่ไม่มีความต้องการการใช้ไฟฟ้ามากนัก
ระบบนี้จะใช้ไฟฟ้าเพื่อสูบน้ำจากทางน้ำเบื้องล่างไปเก็บไว้ที่อ่างเก็บน้ำ ด้านบน
น้ำในส่วนนี้จะถูกปล่อยลงมาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าอีกครั้งในยามที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้า
ซึ่งนำมาใช้ในช่วงขาดแคลนได้
โรงไฟฟ้าแบบนี้ถูกสร้างบนพื้นฐานความคิดในการจัดการกระแสไฟฟ้าส่วนเกิน
เพราะโดยปกติการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางคืนที่ค่อนดึกไปแล้วจะมีการใช้ไฟฟ้าลดลง
แต่กำลังการผลิตไฟฟ้ายังคงเท่าเดิม ทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้า
โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำแบบสูบน้ำกลับเป็นโรงไฟฟ้าที่มีอ่างเก็บน้ำสองส่วนคือ อ่างเก็บน้ำส่วนบน
(upper reservoir) และอ่างเก็บน้ำส่วนล่าง (lower
reservoir) น้ำจะถูกปล่อยจากอ่างเก็บน้ำส่วนบนลงมาเพื่อหมุนกังหันและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเมื่อต้องการผลิตไฟฟ้าและในช่วงที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าต่ำหรือน้อยลง
จะใช้ไฟฟ้าที่เหลือจ่ายให้กับปั๊มน้ำขนาดใหญ่ที่ติดตั้งอยู่ในอ่างเก็บน้ำส่วนล่าง
เพื่อสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำส่วนล่างนี้กลับขึ้นไปเก็บไว้ที่อ่างเก็บน้ำส่วนบนเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าต่อไป
ส่วนประกอบของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ
1 อาคารรับน้ำ (power
intake) คือ อาคารสำหรับรับน้ำที่ไหลจากอ่างลงสู่ท่อที่อยู่ภายในตัวอาคาร
เพื่อนำพลังงานน้ำไปหมุนกังหันและหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
ภายในตัวอาคารจะมีห้องควบคุมระบบการไหลของน้ำและระบบการผลิตไฟฟ้า
อาคารรับน้ำโดยทั่วไปจะถูกสร้างไว้ใกล้ๆ ตัวเขื่อน
2 ตะแกรง (screen) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันเศษไม้ หรือวัตถุใดๆ
ที่จะผ่านเข้าไปทำให้เกิดการอุดตันของท่อส่งน้ำ หรือสร้างความเสียหายให้กับกังหัน
3 อุโมงค์เหนือน้ำ (headrace) เป็น ช่องสำหรับให้น้ำไหลเข้ามายังท่อส่งน้ำอยู่ภายในตัวเขื่อน
อุโมงค์นี้จะอยู่ในตัวอาคารรับน้ำมีพื้นที่หน้าตัดเป็นรูปเกือกม้าหรือวงกลม
ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก
4 ท่อส่งน้ำ (penstock) เป็นท่อสำหรับรับน้ำจากเหนือเขื่อนและส่งต่อไปยังอาคารรับน้ำ
เพื่อหมุนกังหันและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
5 อาคารลดแรงดันน้ำ (surge
tank) เป็น
อาคารที่สร้างขึ้นเพื่อควบคุมแรงดันของน้ำที่จะอัดใส่ภายในท่อส่งน้ำ
ซึ่งอาจทำให้ท่อหรือหัวฉีดน้ำเสียหายได้
โดยทั่วไปจะสร้างอยู่ระหว่างตัวเขื่อนกับอาคารรับน้ำแต่โรงไฟฟ้าที่อยู่ใกล้
กับตัวเขื่อนอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมีอาคารลดแรงดันน้ำนี้
6 ประตูน้ำ (wicket
gate or guide vane) เป็น บานประตูที่ควบคุมการไหลของน้ำที่จะไหลเข้าไปหมุนใบพัดของกังหัน
ควบคุมโดยการปิดหรือเปิดประตูน้ำนี้ให้น้ำไหลผ่านเข้าไปยังท่อส่งน้ำในอัตรา
ที่เหมาะสม
7 กังหันน้ำ (water
turbine) เป็น ตัวรับแรงดันของน้ำที่ไหลมาจากท่อส่งน้ำ
โดยแรงดันนี้จะทำหน้าที่ฉีดหรือผลักดันให้กังหันหมุน ทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถผลิตไฟฟ้าออกมาได้
กังหันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ
ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียดในหัวข้อต่อไป
8 ท่อรับน้ำ (draft
tube) เป็นท่อรับน้ำหลังจากที่น้ำผ่านออกมาจากกังหัน
เพื่อนำน้ำออกไปยังท้ายน้ำ ท่อรับน้ำนี้จะอยู่บริเวณส่วนหลังของกังหัน
9 ทางน้ำล้น (spill
way) คือ ทางระบายน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำ
ในกรณีที่น้ำในอ่างมีระดับสูงเกินไป
ทางน้ำล้นจะต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะให้ปริมาณน้ำสูงสุดที่ระบายออก
สามารถระบายออกได้ทันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่เขื่อน
10 เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (generator) เป็นอุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนพลังงานกลจากการหมุนของกังหันมาเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยใช้หลักการของขดลวดตัดผ่านสนามแม่เหล็ก
11 หม้อแปลง (transformer) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้สำหรับแปลงแรงดัน
ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ให้เป็นไฟฟ้าที่มีแรงดันสูงเพื่อส่งเข้าสู่ระบบสายส่งต่อไป
โรงไฟฟ้าพลังน้ำ เขื่อนลำตะคอง
เขื่อนลำตะคองตั้งอยู่ที่ อ. สีคิ้ว จ. นครราชสีมา
เป็นโรงไฟฟ้าแบบสูบกลับ
มีวัตถุประสงค์ในการช่วยเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าให้กับ
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งในประเทศไทย ในเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง โดยการนำพลังงานไฟฟ้าที่เหลืออยู่
(ช่วงมีความต้องการไฟฟ้าน้อย)
ในระบบมาใช้สูบน้ำจำนวนหนึ่งที่มีอยู่ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคองเดิม
(ของกรมชลประทาน) ขึ้นไปเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำข้างบน (กฟผ.สร้างขึ้นใหม่)
และเมื่อมีความต้องการไฟฟ้ามากในช่วงหัวค่ำ
ก็ปล่อยน้ำจำนวนเดียวกันนี้ให้ไหลกลับคืนลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคองตามเดิมโดยผ่านกังหันน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าเสริมระบบ
เป็นปัจจัยในการพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคอย่างมาก
ลักษณะของโรงงานไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ(Pumped
Storage Plant)
โรงไฟฟ้าแบบนี้ถูกสร้างบนพื้นฐานความคิดในการจัดการกระแสไฟฟ้าส่วนเกิน เพราะโดยปกติการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางคืนที่ค่อนดึกไปแล้วจะมีการใช้ไฟฟ้าลดลงแต่กำลังการผลิตไฟฟ้ายังคงเท่าเดิม ทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้า โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำแบบสูบน้ำกลับเป็นโรงไฟฟ้าที่มีอ่างเก็บน้ำสองส่วนคือ อ่างเก็บน้ำส่วนบน (upper reservoir) และอ่างเก็บน้ำส่วนล่าง (lower reservoir) น้ำจะถูกปล่อยจากอ่างเก็บน้ำส่วนบนลงมาเพื่อหมุนกังหันและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเมื่อต้องการผลิตไฟฟ้า ดังแสดงในภาพและในช่วงที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าต่ำหรือน้อยลง จะใช้ไฟฟ้าที่เหลือจ่ายให้กับปั๊มน้ำขนาดใหญ่ที่ติดตั้งอยู่ในอ่างเก็บน้ำส่วนล่าง เพื่อสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำส่วนล่างนี้กลับขึ้นไปเก็บไว้ที่อ่างเก็บน้ำส่วนบนเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าต่อไป
สายส่งไฟฟ้าแรงสูง
การก่อสร้างโครงการแบ่งออกเป็น 2 ระยะ
ระยะที่ 1
อ่างพักน้ำบนเขา กฟผ. ดำเนินการก่อสร้างขึ้นใหม่ มีความจุทั้งหมด 10.3 ล้านลูกบาศก์เมตร
ซึ่งสามารถใช้เดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทั้ง 4 เครื่อง ได้รวม
8 ชั่วโมง
โรงไฟฟ้าใต้ดิน อยู่ลึกจากผิวดินประมาณ 350
เมตร ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ เครื่องที่
1 และ 2 กำลังผลิตเครื่องละ 250 เมกะวัตต์ รวมกำลังผลิต 500 เมกะวัตต์
อุโมงค์ส่งน้ำเข้าโรงไฟฟ้า จำนวน 2 อุโมงค์ เชื่อมระหว่างอ่างพักน้ำบนเขา และโรงไฟฟ้าใต้ดิน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
6 เมตร ความยาวอุโมงค์ 651 เมตร
อุโมงค์ท้ายน้ำ จำนวน 2 อุโมงค์ เชื่อมระหว่างโรงไฟฟ้าใต้ดิน และอ่างเก็บน้ำตอนล่าง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
6.80 เมตร ความยาวอุโมงค์ละ 1,430 เมตร
ลานไกไฟฟ้าและควบคุม ตั้งอยู่ระหว่างเขา ติดตั้งอุปกรณ์ลานไฟฟ้าชนิด GIS
Indoor Type
สายส่งไฟฟ้าแรงสูง ขนาด 230 เควี 4 วงจร ต่อเชื่อมกับสายส่งของสถานีไฟฟ้าแรงสูงสระบุรี
2 และสถานีไฟฟ้าแรงสูงนครราชสีมา 2 ที่มีอยู่เดิม
ระยะทางที่ต้องเดิมสายเชื่อมโยงประมาณ 7.5 กิโลเมตร การก่อสร้าง
ในระยะที่ 1 เริ่มงานก่อสร้างในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.
2544
ระยะที่ 2
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ
เครื่องที่ 3 และ 4 กำลังผลิตเครื่องละ
250 เมกะวัตต์ รวมกำลังผลิต 500 เมกะวัตต์
สายส่งไฟฟ้าแรงสูง ขนาด 230 เควี 2 วงจร ต่อเชื่อมกับสถานีไฟฟ้าแรงสูงทำลาน
3 จังหวัดสระบุรี ระยะทาง 95 กิโลเมตร การก่อสร้างในระยะที่
2 นี้ กฟผ. ได้ชะลอโครงการไว้ก่อนเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ส่งผลให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศเปลี่ยนแปลงไป
ประโยชน์
• เพิ่มกำลังผลิตให้ระบบ ในช่วงความต้องการไฟฟ้าสูง
(Peak Load) ของแต่ละวัน ได้สูงถึง 1,000 เมกะวัตต์
สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าประมาณปีละ 400 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
• ระบบการทำงานแบบสะสมพลังงาน ช่วงความต้องการไฟฟ้าน้อยของแต่ละวัน
โรงไฟฟ้าจะสูบน้ำไปเก็บไว้ในอ่างพักน้ำบนเขา และปล่อยกลับลงมาผลิตไฟฟ้าในช่วงความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง
ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโรงไฟฟ้า เพราะสามารถเดินเครื่องได้เต็มกำลังตามที่ได้ออกแบบไว้
• ช่วยลดการลงทุนในการผลิตไฟฟ้าเพื่อเสริมระบบ เนื่องจากโครงการนี้ใช้เงินลงทุนต่อกำลังผลิตต่ำกว่าโรงไฟฟ้าอื่นๆ
• เป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำที่ให้กำลังผลิตสูง แต่ใช้พื้นที่ในการก่อสร้างเพียง
2 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น
• ใช้ทรัพยากรน้ำของอ่างเก็บน้ำลำตะคองให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ปริมาณน้ำที่สูบขึ้นไปเก็บไว้ที่พักน้ำบนเขา จะถูกปล่อยกลับลงมาที่อ่างเก็บน้ำตอนล่างเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าสลับกันไปเช่นนี้ทุกๆ
วัน โดยน้ำไม่สูญหายไปไหน
• เพิ่มความมั่นคงให้ระบบไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบริเวณใกล้เคียง
ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาค
ข้อดี – ข้อจำกัดของการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าแบบสูบกลับ
ข้อดี
1. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อเชื้อเพลิงตลอดอายุโครงการ
นอกจากใช้เงินลงทุนก่อสร้าง
ในครั้งแรกเท่านั้น
เนื่องจากใช้น้ำธรรมชาติเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้า
2. ช่วยลดปริมาณก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังความร้อน
จากเชื้อเพลิงฟอสซิล
3. โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่มีขีดความสามารถสูงในการรักษาความมั่นคงให้
แก่ระบบไฟฟ้าของประเทศ เนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำสามารถเดินเครื่องและเริ่มจ่ายไฟฟ้าได้ภายในเวลา
เพียง 4-5 นาที เท่านั้น ขณะที่โรงไฟฟ้าทั่วไปต้องใช้เวลาเริ่มเดินเครื่องกว่า
2-4 ชั่วโมง กฟผ. จึงเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำสำหรับรองรับช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้
กระแสไฟฟ้าสูงสุด Peak) ในแต่ละวัน และใช้เป็นกำลังผลิตสำรองไว้รองรับเหตุการณ์
ต่าง ๆ เช่น สายไฟฟ้าขาด เป็นต้น
ข้อจำกัด
1. ไม่สามารถเดินเครื่องได้ตลอดเวลา
เพราะขึ้นกับปริมาณน้ำในเขื่อนและนอกเขื่อน การ
ผลิตไฟฟ้าจะดำเนินการได้ในช่วงที่สามารถปล่อยน้ำออกจากเขื่อนได้เท่านั้น
2. การก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ในประเทศไทยมีข้อจำกัด
เนื่องจากอ่างเก็บน้ำของเขื่อนขนาดใหญ่จะทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง ส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนประชาชน
พื้นที่เกษตรกรรม โบราณสถาน หรือถ้าเป็นบริเวณป่า ก็จะกระทบต่อสัตว์ป่า
และทรัพยากรป่าไม้ จึงไม่สามารถขยายการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำได้
ACKNOWLEDGMENT
|
โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
(Hydro Power
Plant)
ลักษณะการทำงานโรงไฟฟ้าพลังงานนํ้า
เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าที่สาคัญอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทย
โรงไฟฟ้าชนิดนี้ใช้น้ำในลํานํ้าธรรมชาติเป็นพลังงานในการเดินเครื่อง โดยวิธีสร้างเขื่อนปิดกั้นแม่น้ำไว้เป็นอ่างเก็บนํ้า
ให้มีระดับอยูในที่สูงจนมีปริมาณนํ้าและแรงดันเพียงพอที่จะนํามาหมุนเครื่องกังหันนํ้าและเครื่องกําเนิดไฟฟ้าซึ่งอยู่ในโรงไฟฟ้าท้ายนํ้าที่มีระดับตํ่ากว่าได้
กําลังผลิตติดตั้งและพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโรงไฟฟ้าชนิดนี้ จะเพิ่มเป็นสัดส่วนโดยตรงกับแรงดันและปริมาณนํ้าที่ไหลผ่านเครื่องกังหันนํ้า
ชนิดของเขื่อนแบ่งตามลักษณะการใช้
งานแบ่งออกได้ดังนี้
1. เขื่อนรับนํ้า (Intake Dam) สร้างเพื่อยก ระดับนํ้าให้สูงขึ้นและรับนํ้าจากลํานํ้าเข้าสู่โรงไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า แล้วไหลลงสู่ลำน้ำตามเดิม ได้แก่ เขื่อนปากมูล และเขื่อนหรือฝายของโรงไฟฟ้าพลังนํ้าขนาดเล็กต่างๆ เช่น บ้านยาง บ้านขุนกลาง บ้านสันติ ฯลฯ เป็นต้น
2. เขื่อนเก็บกักนํ้า (Storage Dam) ใช้วิธีการเก็บกักนํ้าไว้ในอ่าง แล้วควบคุมการปล่อยนํ้าให้เป็นไปตามที่ต้องการ เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิต์ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนเขาแหลม เขื่อนรัชชประภา เขื่อนบางลาง ฯลฯ เป็นต้น
3. เขื่อนบังคับนํ้า (Regulating Dam) สร้างขึ้นเพื่อควบคุมปริมาณนํ้าทางด้านนํ้าให้เพียงพอที่เขื่อนรับน้ำจะยกระดับผันเขาคลองส่งน้ำสำหรับการชลประทาน เช่น เขื่อนวชิราลงกรณ์ เขื่อนเพชรบุรี เขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนนเรศวร ฯลฯ เป็นต้น สําหรับเขื่อนบังคับนํ้าแห่งแรกที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ คือ เขื่อนท่าทุ่งนา
4. เขื่อนเก็บกักนํ้าเพื่อสูบนํ้ากลับ (Pumped Storage Dam) สร้างขึ้นเพื่อทําอ่างเก็บน้ำเมื่อปล่อยน้ำออกแล้วสูบกลับ เขื่อนประเภทนี้ อาจจะไม่ต้องสร้างขวางทางน้ำ หน้าที่ที่สำคัญ คือ คอยเกบน้ำไว้ปล่อยเพื่อผลิตไฟฟ้าในช่วงที่มีความต้องการสูง และในช่วงที่มีความต้องการไฟฟ้ าตํ่า ก็จะสูบนํ้าจากอ่างเก็บนํ้าตอนล่างขึ้นไปเก็บไว้ยงอ่างเก็บนํ้าตอนบนตามเดิม และนํานํ้านั้นมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าอีกครั้งในช่วงที่มีความต้องการสูงสุดของแต่ละวัน
1. เขื่อนรับนํ้า (Intake Dam) สร้างเพื่อยก ระดับนํ้าให้สูงขึ้นและรับนํ้าจากลํานํ้าเข้าสู่โรงไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า แล้วไหลลงสู่ลำน้ำตามเดิม ได้แก่ เขื่อนปากมูล และเขื่อนหรือฝายของโรงไฟฟ้าพลังนํ้าขนาดเล็กต่างๆ เช่น บ้านยาง บ้านขุนกลาง บ้านสันติ ฯลฯ เป็นต้น
2. เขื่อนเก็บกักนํ้า (Storage Dam) ใช้วิธีการเก็บกักนํ้าไว้ในอ่าง แล้วควบคุมการปล่อยนํ้าให้เป็นไปตามที่ต้องการ เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิต์ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนเขาแหลม เขื่อนรัชชประภา เขื่อนบางลาง ฯลฯ เป็นต้น
3. เขื่อนบังคับนํ้า (Regulating Dam) สร้างขึ้นเพื่อควบคุมปริมาณนํ้าทางด้านนํ้าให้เพียงพอที่เขื่อนรับน้ำจะยกระดับผันเขาคลองส่งน้ำสำหรับการชลประทาน เช่น เขื่อนวชิราลงกรณ์ เขื่อนเพชรบุรี เขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนนเรศวร ฯลฯ เป็นต้น สําหรับเขื่อนบังคับนํ้าแห่งแรกที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ คือ เขื่อนท่าทุ่งนา
4. เขื่อนเก็บกักนํ้าเพื่อสูบนํ้ากลับ (Pumped Storage Dam) สร้างขึ้นเพื่อทําอ่างเก็บน้ำเมื่อปล่อยน้ำออกแล้วสูบกลับ เขื่อนประเภทนี้ อาจจะไม่ต้องสร้างขวางทางน้ำ หน้าที่ที่สำคัญ คือ คอยเกบน้ำไว้ปล่อยเพื่อผลิตไฟฟ้าในช่วงที่มีความต้องการสูง และในช่วงที่มีความต้องการไฟฟ้ าตํ่า ก็จะสูบนํ้าจากอ่างเก็บนํ้าตอนล่างขึ้นไปเก็บไว้ยงอ่างเก็บนํ้าตอนบนตามเดิม และนํานํ้านั้นมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าอีกครั้งในช่วงที่มีความต้องการสูงสุดของแต่ละวัน
ชนิดของโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบ่งตามปริมาณน้ำ
1. แบบไม่มีอ่างเก็บน้ำ (Run of River) โรงไฟฟ้าชนิดน้ำ ใช้ประโยชน์ของน้ำที่ไหลตามลําห้วย ลําธาร สร้างเขื่อนเล็กๆ หรือฝายขวางลํานํ้า บังคับนํ้าให้ไหลไปตามท่อ หรือทําราง ส่งนํ้า ใช้ความดันของนํ้าจากที่สูงหมุนกังหันซึ่งต่อแกนกับเครื่องกําเนิดผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก ปริมาณน้ำไม่แน่นอน ขึ้นอยกับฤดูกาล
2. แบบมีอ่างเกบน้ำ (Storage Regulation Development) เป็นโรงไฟฟ้าขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ และพัฒนาให้เป็นแบบอเนกประสงค์ โรงไฟฟ้าชนิดใช้เป็นหลักในการผลิตไฟฟ้า นํ้าจะถูกเก็บไว้ในอ่างเก็บนํ้าเหนือเขื่อนให้มีปริมาณเพียงพอที่จะผลิตไฟฟ้ าได้ อย่างสม่ำเสมอ
3. แบบสูบน้ำกลับ (Pumped Storage Plant ) โรงไฟฟ้าแบบสูบน้ำกลับเป็น โรงไฟฟ้าที่มีอ่างเกบน้ำสองส่วน คืออ่างเกบน้ำบนและล่าง โรงไฟฟ้าจะเป็นตัวเชื่อม ในขณะที่ผลิตไฟฟ้าในช่วงที่มีความต้องการไฟฟ้าสูงก็จะปล่อยนํ้าให้หมุนกังหันและเครื่องกําเนิดไฟฟ้าและเมื่อใดที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าตํ่าหรือลดลง ก็จะใช้กำลังงานไฟฟ้าที่เหลือจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กบปั้มนํ้าขนาดใหญ่เพื่อสูบนํ้าจากอ่างล่างกลับขึ้นไปเก็บไว้ที่ด้านบน เพื่อใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป
1. แบบไม่มีอ่างเก็บน้ำ (Run of River) โรงไฟฟ้าชนิดน้ำ ใช้ประโยชน์ของน้ำที่ไหลตามลําห้วย ลําธาร สร้างเขื่อนเล็กๆ หรือฝายขวางลํานํ้า บังคับนํ้าให้ไหลไปตามท่อ หรือทําราง ส่งนํ้า ใช้ความดันของนํ้าจากที่สูงหมุนกังหันซึ่งต่อแกนกับเครื่องกําเนิดผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก ปริมาณน้ำไม่แน่นอน ขึ้นอยกับฤดูกาล
2. แบบมีอ่างเกบน้ำ (Storage Regulation Development) เป็นโรงไฟฟ้าขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ และพัฒนาให้เป็นแบบอเนกประสงค์ โรงไฟฟ้าชนิดใช้เป็นหลักในการผลิตไฟฟ้า นํ้าจะถูกเก็บไว้ในอ่างเก็บนํ้าเหนือเขื่อนให้มีปริมาณเพียงพอที่จะผลิตไฟฟ้ าได้ อย่างสม่ำเสมอ
3. แบบสูบน้ำกลับ (Pumped Storage Plant ) โรงไฟฟ้าแบบสูบน้ำกลับเป็น โรงไฟฟ้าที่มีอ่างเกบน้ำสองส่วน คืออ่างเกบน้ำบนและล่าง โรงไฟฟ้าจะเป็นตัวเชื่อม ในขณะที่ผลิตไฟฟ้าในช่วงที่มีความต้องการไฟฟ้าสูงก็จะปล่อยนํ้าให้หมุนกังหันและเครื่องกําเนิดไฟฟ้าและเมื่อใดที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าตํ่าหรือลดลง ก็จะใช้กำลังงานไฟฟ้าที่เหลือจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กบปั้มนํ้าขนาดใหญ่เพื่อสูบนํ้าจากอ่างล่างกลับขึ้นไปเก็บไว้ที่ด้านบน เพื่อใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น