วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Nuclear Power Plant



ชื่อกลุ่ม
1.นายชัยยพล     เตชะพัทธ์รักษ์      5310060016

2.นายวัชรพล     ลิขนะพิชิตกุล        5310062095

3.นายธาวัน        พาพงษ์พันธ์         5210060256

4.นายธีรยุทธ     พุฒิแก้ว                5310062194

มาทำความรู้จักโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ตั้งอยู่บนเส้นแบ่งขอบเขต ระหว่างความคาดหวังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษย์ชาติ และความกลัวที่ร้าวลึกที่สุดของมันในอนาคต

ในทางหนึ่ง พลังงานอะตอมถูกกล่าวถึงว่าเป็นพลังงานสะอาด เป็นทางเลือกอิสระของมนุษย์ ที่จะปลดภาระออกจากห่วงของการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล ในอีกทางหนึ่งก็มีภาพลักษณ์ของภัยพิบัติอย่าง แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิที่ทำให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่นพ่นไอน้ำกัมมันตรังสี หรือรอบ ๆ โครงสร้างคอนกรีต (sarcophagus) ที่ครอบโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลที่เรียกเป็นโซนมรณะ

 แต่อะไรเกิดขึ้นภายในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่นำมาซึ่งความพิศวง และความทุกข์ระทมแสนสาหัส ให้ลองนึกภาพตามดังต่อไปนี้ แรงดันของกระแสไฟฟ้าด้านหลังผนังบ้านที่ผ่านมาสู้เต้ารับ (ปลั๊ก) ไฟฟ้าหรือสวิตซ์ไฟฟ้า ตลอดเส้นทางหลายไมล์ของสาย เส้นทางพลังงานไปสู่เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่เป็นแหล่งกำเนิด เราจะพบกับเครื่องกำเนิดที่ผลิดกระแสไฟฟ้า และกังหันไอน้ำที่หมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ต่อมาเราก็จะพบกับกระแสของไอน้ำร้อนที่พ่นเป็นลำเพื่อมาทำให้กังหันหมุน และในที่สุดก็มาถึงมัดแท่งเชื้อเพลิงยูเรเนียมกัมมันตรังสี ที่มาทำให้น้ำร้อนจนกลายเป็นไอน้ำร้อน หลังจากนั้นก็ยินดีต้อนรับเข้าสู่แกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์

 น้ำในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ยังทำหน้าที่เป็นน้ำหล่อเย็นสำหรับวัสดุกัมมันตรังสี ป้องกันไม่ให้มีระดับความร้อนเกินขอบเขต และทำให้เกิดการหลอมละลายของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ในเดือนมีนาคม 2011 ผู้ชมทั่วโลกจะเห็นภาพ และคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับความเป็นจริงที่ประชาชนญี่ปุ่นเป็นหมื่น ๆ ต้องหนีออกมาจากบริเวณรอบๆ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ-ไดอิจิ หลังจากเกิดแผ่นดินไหวที่มีพลังแรงที่สุดที่มีการบันทึกเป็นสถิติ และตามมาด้วยคลื่นสึนามิ เป็นผลให้เกิดบาดแผลความเสียหายร้ายแรง แก่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์อีกหลายเครื่อง ท่ามกลางเหตุการณ์อื่น ๆ การระบายน้ำออกจากแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ก็ไม่สามารถที่จะดำเนินการได้ ที่จะควบคุมอุณณหภูมิในแกนเครื่องปฏิกรณ์ ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดการสะสมความร้อนที่เกินขอบเขต และทำให้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์บางส่วนเกิดการหลอมละลาย
ภาพถ่ายดาวเทียมของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ-ไดนิ ซึ่งอยู่ข้าง ๆ ฟุกุชิมะ-ไดอิจิ โรงนี้สามรถรอดจาก แผ่นดินไหวขนาด 8.9 และคลื่นสึนามิทำให้เกิดเหตุหายนะเป็นห่วงโซ่เมื่อ 16 มีนาคม 2011


ปฏิกิริยาฟิชชันหัวใจของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

แม้ว่าจะมีพลังงานต่าง ๆ มากมายในจักรวาล คำว่า “นิวเคลียร์” จะอ้างถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ขึ้นอยู่กับพลังงานอะตอม ซึ่งการดำเนินการใช้งานไม่ได้มีความแตกต่างกันเลยจากโรงไฟฟ้าปกติ ที่ใช้การเผาถ่านหินเพื่อผลิตไฟฟ้า ทั้งสองกรณีใช้หลักการทำให้ความร้อนแก่น้ำทำให้เป็นไอน้ำแรงดันสูง เพื่อมาขับเคลื่อนกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างทั้งสองกรณีก็คือ วิธีการที่จะใช้ในการให้ความร้อนแก่น้ำ
          ในขณะที่โรงงานผลิตไฟฟ้าแบบเก่าใช้การเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้นขึ้นอยู่กับการใช้ความร้อนที่เกิดขึ้นจากปฏิกริยานิวเคลียร์ฟิชชัน เมื่ออะตอมแบ่งแยกออกเป็นสองส่วนและมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ปฏิกริยานิวเคลียร์ฟิชชันเกิดขึ้นตามธรรมชาติทุกวัน ดังเช่น ยูเรเนียมเป็นตัวอย่างที่สามารถเกิดฟิชชันได้เองอย่างต่อเนื่องในอัตราที่ช้ามาก ๆ นี่คือเหตุผลที่ว่า ทำไมธาตุยูเรเนียมจึงมีการแผ่รังสี และนี่คือเหตุผลทางธรรมชาติ ในการเลือกการทำให้เกิดฟิชชัน มาใช้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ทำไมต้องเป็นยูเรเนียม?

        บนโลกนี้มีแร่กัมมันตรังสีอยู่ 2 ชนิดที่หลังเกิดปฎิกิริยาฟิชชัน   จะให้ค่าพลังงานความร้อนที่สูงมากนั่นคือ  Uranium   และ  Plutonium  ซึ่งแต่ละตัวมีข้อดีข้อเสียที่ต่างกันไป  

อย่างเช่น         1.Plutonium นั้นสามารถนำมา recycle ได้  แต่อยู่ Uranium  ทำไม่ได้
                        2.Plutonium นั้นจะเกิดปฎิกิริยาฟิชชันได้ยากกว่า Uranium
                        3.Plutonium  จะให้พลังงานเพียง 1 ใน 3 ของค่าจริง  เนื่องจากเหตุผลในข้อ2.
Plutonium Ore

Uranium Ore

ยูเรเนียมเป็นธาตุที่พบบนโลก และมีอยู่ตั้งแต่กำเนิดของโลกแล้ว ยูเรเนียมมีอยู่หลาย ๆ แบบแต่ที่นิยมใช้กันมากจะมีอยู่ 2 แบบ คือ   ยูเรเนียม-235  และ ยูเรเนียม-238

ยูเรเนียม-235 นั้นจะทำปฏิกิริยาฟิชชันได้ง่ายกว่ายูเรเนียม-238


การเกิดปฎิกิริยาฟิชชัน


การเสริมสมรรถนะยูเรเนียมเพื่อที่จะได้มียูเรเนียม-235 ให้อยู่ในระดับ 2% ถึง3% ยูเรเนียม-235 เสริมสมรรถนะในระดับ 3% ก็เพียงพอสำหรับใช้ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แต่สำหรับยูเรเนียม-235 ชนิดที่ใช้สำหรับการทำอาวุธนิวเคลียร์ต้องเสริมสมรรถนะยูเรเนียม-235 อย่างน้อยต้อง 90%

ภายในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

 ในการที่จะเปลี่ยนพลังงานจากฟิชชันให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ผู้ปฏิบัติงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะต้องควบคุมพลังงานที่ได้จากยูเรเนียมเสริมสมรรถนะ และนำไปให้ความร้อนแก่น้ำและเปลี่ยนเป็นไอน้ำ
          ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะโดยทั่วไปจะถูกทำให้เป็นเม็ดขนาดยาว 2.5 เซนติเมตรและเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณขนาดเหรียญ 10 เซ็นต์ ต่อมาเม็ดยูเรเนียมนี้จะถูกนำมาบรรจุในท่อโลหะยาว และท่อที่ได้ก็จะนำมารวมกันเป็นมัดแท่งเชื้อเพลิง และนำมัดแท่งเชื้อเพลิงนี้มาบรรจุในถังโลหะความดันสูงที่มีน้ำบรรจุอยู่เต็ม โดยน้ำทำหน้าที่เป็นตัวหล่อเย็น ถ้าไม่มีระบบน้ำหล่อเย็นแล้ว แท่งเชื้อเพลิงยูเรเนียมก็จะสะสมความร้อนมากเกินไปทำให้เกิดการหลอมละลายได้
          เพื่อที่จะป้องกันระดับความร้อนสะสมมากเกินระดับ แท่งควบคุมซึ่งทำด้วยวัสดุที่มี คุณสมบัติในการดูดกลืนนิวตรอน จะถูกสอดแทรกไปในระหว่างมัดแท่งเชื้อเพลิงยูเรเนียม โดยมีระบบกลไกเป็นตัวขับเคลื่อนแท่งควบคุมในการเลื่อนขึ้นลง ในการเลื่อนแท่งควบคุมขึ้นหรือลง จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถที่จะควบคุมอัตราปฏิกิริยานิวเคลียร์ได้ เมื่อผู้ปฏิบัติงานต้องการให้ยูเรเนียมผลิตความร้อนมาก ๆ แท่งควบคุมก็จะถูกดึงสูงขึ้นพ้นระยะของมัดแท่งเชื้อเพลิงยูเรเนียม (โอกาสที่นิวตรอนจะถูกดูดกลืนโดยแท่งควบคุมก็จะมีน้อยลง) เพื่อที่ระลดระดับความร้อน แท่งควมคุมก็จะถูกลดระดับลงไปในมัดแท่งเชื้อเพลิงยูเรเนียม แท่งควบคุมสามารถที่จะเลื่อนลงไปในมัดแท่งเชื้อเพลิงได้ในระดับต่ำที่สุด เพื่อที่จะหยุดการเดินเครื่องในกรณีของการเกิดอุบัติเหตุ หรือในกรณีการเปลี่ยนมัดแท่งเชื้อเพลิงใหม่

ผังแสดงทุกส่วน (จาก A ถึง L) ภายในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
รูปชั้นล่างสุดของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ โครงสร้างโค้งเป็นโครงสร้างที่ทำด้วยคอนกรีตหนาและชั้นเหล็กกล้าเรียกว่าContainment vessel ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีสู่สภาวะแวดล้อม
ภายในแกนเคริ่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ มีน้ำหล่อเย็นบรรจุท่วมในส่วนของแท่งเชื้อเพลิงและแท่งควบคุม แท่งเชื้อเพลิงคือสีแดง และแท่งควบคุมคือสีน้ำเงิน การบังคับแท่งควบคุมขึ้นหรือลงก็เพื่อการปรับระดับอัตราของปฏิกิริยานิวเคลียร์ (และความร้อนที่เกิดขึ้น) การลดระดับแท่งควบคุมลงต่ำสุดทำให้ปฏิกิริยานิวเคลียร์หยุดลง เครื่องก็จะหยุดการทำงาน
ท่อสีน้ำเงินทางซ้ายจะดูดน้ำหล่อเย็นเข้าสู่แกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ขณะที่ท่อสีแดงทางขวา ดึงน้ำหล่อเย็นที่ร้อนเข้าสู่ชุดกำเนิดไอน้ำในถังที่สองดังที่เห็น เครื่องสูบน้ำที่ทำให้น้ำหล่อเย็นทั้งร้อนและเย็นไหลผ่านตลอดระบบ จึงเป็นส่วนวิกฤตที่สำคัญ ที่จะทำให้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์มีความปลอดภัยในการทำงาน
ชุดกำเนิดไอน้ำจะส่งไอน้ำที่รวบรวมได้ ไปสู่กังหันผ่านทางท่อส่งไอน้ำ (เห็นอยู่ด้านบน)
ในที่สุดไอน้ำก็จะไปขับนกังหันไอน้ำ

เมื่อดูที่กังหันไอน้ำที่อยู่ด้านบน ด้านล่างก็คือชุดควบแน่นน้ำเย็น ซึ่งชุดควบแน่นนี้ในท้ายที่สุดแล้ว ก็จะส่งน้ำเย็นชุดใหม่ที่ผลิตได้ กลับเข้าสู่ชุดกำเนิดไอน้ำ เพื่อรักษาระดับอุณหภูมิของแกนชุดกำเนิดไอน้ำตามที่ต้องการ
น้ำหล่อเย็นของเครื่องควบแน่นก็เช่นกัน จะถูกส่งไปที่หอระบายความร้อน
หอระบายความร้อนทำหน้าที่ลดอุณหภูมิของของเหลวที่ผ่านเข้าไป และพร้อมที่จะส่งกลับคืนไปที่เครืองควบแน่น หรือบางแบบก็จะปล่อยทิ้งไปสู่สภาวะแวดล้อม ไอน้ำที่เห็นลอยออกมาจากหอระบายความร้อน ก็คือน้ำธรรมดาเท่านั้น
ชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ที่เชื่อมต่อกับชุดหม้อแปลงไฟฟ้า ซึ่งในที่สุดก็ได้พลังงาน (นิวเคลียร์) เพื่อประชาชน
เรามองเห็นได้จากภาพโรงไฟฟ้านิวเคลียร์บรอคดอร์ฟ (Brokdorf) ของเยอรมนี ผนังคอนกรีตมีบทบาทสำคัญในการเก็บวัสดุกัมมันตรังสี

ข้อสนับสนุนและข้อต่อต้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

 ประโยชน์ข้อใหญ่ที่สุดของพลังงานนิวเคลียร์คืออะไร ? พลังงานนิวเคลียร์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับพลังงานฟอสซิล ตัดขาดจากผลกระทบของความผันผวนด้านราคาของน้ำมันและแก๊ส โรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินและแก๊สธรรมชาติเพื่อผลิตพลังงาน มีการปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แต่กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ การที่จะปลดปล่อยแก๊สคาร์บออนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศน้อยมาก
     
           ข้อมูลอ้างอิงตามสถาบันพลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear Energy Institute: NEI) ว่าพลังงานที่ผลิตโดยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของทั้งโลก จะปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาถึงสองพันล้านตันที่เดียว ถ้าพลังงานนี้ผลิตด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิล ในข้อความจริงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ทำงานด้วยศักยภาพที่ถูกต้อง จะมีการปลดปล่อยกัมมันตรังสีสู่สภาวะแวดล้มที่น้อยมาก น้อยกว่าโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเสียด้วยซ้ำ (ที่มา Hvistendahl) รวมกับสิ่งที่ปลดปล่อยออกมาจากความต้องการใช้เชื้อเพลิงที่น้อยกว่า การเกิดนิวเคลียร์ฟิชชันจะผลิตพลังงานประมาณหยาบ ๆ ได้มากกว่าการเลือกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลถึงล้านเท่า เมื่อต่อหน่วยน้ำหนักเชื้อเพลิงเท่ากัน
          ทีนี้ก็มามองพลังงานนิวเคลียร์ในเชิงลบบ้าง ในอดีตของการทำเหมืองยูเรเนียม และกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ เป็นกระบวนการที่ไม่ค่อยสะอาดนัก แม้แต่การขนส่งเชื้อเพลิงยูเรเนียมไปหรือขนส่งกลับจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ก็จะมีความเสี่ยงในเรื่องของการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี และยิ่งเป็นเชื้อเพลิงใช้แล้ว (spent fuel) จะขจัดทิ้งได้เหมือนขยะทั่ว ๆ ไปที่มาจากชุมชนเมืองไมได้ ทั้งนี้เพราะมันมีความแรงทางรังสีและเป็นอันตรายร้ายแรงได้
          โดยเฉลี่ยในหนึ่งปี โรงไฟฟ้านิวเคลียร์หนึ่งโรงจะทำให้เกิดเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วขึ้น 20 ตัน ที่ถูกจำแนกว่าเป็นกากกัมมันตรังสีระดับสูง (high-level radioactive waste) ดังนั้น เมื่อนับรวบเอาจำนวนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งโลกมารวมกันแล้ว จะมีปริมาณเชื้อเพลิงใช้แล้วรวมกันสูงถึง 2,000 ตันต่อปี (แหล่งที่มา NEI) โดยกากกัมมันตรังสีทั้งหมดนี้ จะปลดปล่อยกัมมมันตภาพรังสีและความร้อนออกมา ซึ่งหมายความว่า ภาชนะที่จรรจุกากกัมมันตรังสีเหล่านี้จะเกิดการเสื่อมสภาพได้เช่นการเกิดสนิม ซึ่งมันสามารถที่จะเป็นอันตรายแก่สิ่งมีชีวิตที่อยู่ใก้ลเคียงได้ และถ้ายังไม่เลวร้ายพอ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังทำให้เกิดกากกัมมันตรังสีระดับต่ำ (low-level radioactive waste) ในรูปของชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่มีกัมมันตภาพรังสี
          เมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ใช้แล้วก็จะสลายในระดับที่ความแรงทางรังสีอยู่ในระดับที่ปลอดภัย แต่กระบวนการนี้ก็ต้องใช้เวลานานมากเป็นหมื่น ๆ ปี แม้กระทั่งกากกัมมันตรังสีระดับต่ำ ๆ ก็ต้องการเวลาเป็นหลายศตวรรษ จึงจะทำให้กัมมันตภาพรังสีสลายจนอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมนิวเคลียร์จะปล่อยให้กากกัมมันตรังสีสลายเป็นเวลาหลายปี ก่อนที่จะนำมาผสมทำให้เป็นแก้ว และเก็บไว้ในโครงสร้างคอนกรีตขนาดใหญ่ ที่มีระบบระบายความร้อน โดยที่กากกัมมันตรังสีเหล่านี้จะมีระบบการบำรุงรักษา การเฝ้าตรวจ และการปกป้องรักษา เพื่อป้องกันไม่ให้วัสดุเหล่านี้ตกไปอยู่ในความครอบครองของผู้ไม่ประสงค์ดี ทั้งหมดของการจัดการดังกล่าว ต้องใช้งบประมาณสูง และเป็นค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งก็มีมูลค่าที่สูงอยู่แล้ว
เศษซากความเสียหายอันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ที่ทำให้เกิดคลื่นสึนามีตามมา และทำให้ประเทศญี่ปุ่นเหมือนถูกฉีกออกจากกันอันนำไปสู่หายนะนิวเคลียร์

ความนิยมของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ในปัจจุบันมีหลายประเทศได้หันมาใช้โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์   ไม่ว่าจะเป็น ยุโรป  ญี่ปุ่น   อินเดีย โดยเฉพาะที่อเมริกานั้น

- ในปี2011 ได้มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถึง 104 โรงจากทั่วประเทศ   ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 821 พันล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง  โดยคิดเป็นพลังงานไฟฟ้า 19%  จากพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดที่ผลิตได้

- ในปี2012  กำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดของอเมริกานั้นได้เพิ่มขึ้นถึง  4300 พันล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
  โดยแบ่งสัดส่วนได้ดังนี้
        1.จากการเผาไหม้ถ่านหิน 38%
        2.จากการเผาไหม้gas   30%
        3.จากพลังงานนิวเคลียร์   19%
        4.ส่วนที่เหลือจากน้ำ  ลม และความร้อนใต้พิภพ
ตำแหน่งที่ตั้งของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใน U.S.A


การลงทุนในอเมริกา

ในปัจจุบันได้มีบริษัทที่สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กว่า 30 บริษัทในอเมริกา    จากการสำรวจพบว่ากำไรจากการขายไฟฟ้าให้กับรัฐบาลอเมริกาในแต่ละปีนั้นจะอยู่ประมาณ $40 - $50 billion   และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

Reference

1.Thailand Institute of Nuclear Technology
2.Nuclear Energy Institute
3.World Nuclear Association

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น