River
Power Plant
1. นิธิพงศ์ ช่างหล่อ 5310060149
2. กฤษฎา บุญธำรง 5310060164
3. องอาจ กวินปณิธาน 5310060214
4. เจษฎา พรานนท์สถิตย์ 5310061154
5. ณภัทร บรรจงกิจ 5310063085
Introduction
พลังงานน้ำ เป็นรูปแบบหนึ่งการสร้างกำลังโดยการอาศัยพลังงานจากการเคลื่อนที่ของน้ำ ปัจจุบัน พลังงานน้ำส่วนมากจะถูกใช้เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้แล้วพลังงานน้ำยังถูกนำไปใช้ในกรมชลประทาน การสี การทอผ้า เป็นต้น
พลังงานของมวลน้ำที่เคลื่อนที่ได้ถูกมนุษย์นำมาใช้มานานแล้วนับศตวรรษ
โดยได้มีการสร้างกังหันน้ำ (Water Wheel) เพื่อใช้ในการงานต่างๆ
ในอินเดีย และชาวโรมันก็ได้มีการประยุกต์ใช้เพื่อใช้ในการโม่แป้งจากเมล็ดพืชต่างๆ
ส่วนผู้คนในจีนและตะวันออกไกลก็ได้มีการใช้พลังงานน้ำเพื่อสร้าง Pot Wheel เพื่อใช้ในวิดน้ำเพื่อการชลประทาน โดยในช่วงทศวรรษ 1830 ซึ่งเป็นยุคที่การสร้างคลองเฟื่องฟูถึงขีดสุด
ก็ได้มีการประยุกต์เอาพลังงานน้ำมาใช้เพื่อขับเคลื่อนเรือขึ้นและลงจากเขา
โดยอาศัยรางรถไฟที่ลาดเอียง (Inclined Plane Railroad : Funicular) โดยตัวอย่างของการประยุกต์ใช้แบบนี้ อยู่ที่คลอง Tyrone ในไอร์แลนด์เหนือ
อย่างไรก็ตามเนื่องจากการประยุกต์ใช้พลังงานน้ำในยุคแรกนั้นเป็นการส่งต่อพลังงานโดยตรง
(Direct Mechanical Power Transmission) ทำให้การใช้พลังงานน้ำในยุคนั้นต้องอยู่ใกล้แหล่งพลังงาน
เช่น น้ำตก เป็นต้น ปัจจุบันนี้ พลังงานน้ำได้ถูกใช้เพื่อการผลิตไฟฟ้า
ทำให้สามารถส่งต่อพลังงานไปใช้ในที่ที่ห่างจากแหล่งน้ำได้
พลังงานน้ำเกิดจากพลังงานแสงอาทิตย์
ที่ให้ความร้อนแก่น้ำและทำให้น้ำกลายเป็นไอน้ำลอยตัวสูงขึ้น มวลน้ำที่อยู่สูงขึ้นจากจุดเดิม
(พลังงานศักย์) เมื่อมวลไอน้ำกระทบความเย็นก็จะเปลี่ยนเป็นของเหลวอีกครั้ง
และตกลงมาเนื่องจากเนื่องจากแรงดึงดูดของโลก (พลังงานจลน์)
การนำเอาพลังงานน้ำมาใช้ประโยชน์ทำได้โดยการเปลี่ยนพลังงานจลน์ของน้ำที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำให้เป็นกระแสไฟฟ้า
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนนี้คือ กังหันน้ำ (Turbines) น้ำที่มีความเร็วสูงจะผ่านเข้าท่อแล้วถ่ายทอดพลังงานจลน์เข้าสู่กังหันน้ำ
ซึ่งจะไปหมุนขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอีกทอดหนึ่ง
ในปัจจุบันพลังงานที่ได้จากแหล่งน้ำที่รู้จักกันโดยทั่วไปคือ พลังงานน้ำตก พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง
พลังงานคลื่น
Conceptของ River Powerplant
แนวคิดในการทำงานของ Run-of-the-river
hydroelectricity หรือROR เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำในอุดมคติ
ซึ่งทำงานโดยผันน้ำจากลำน้ำผ่านท่อส่งไปยังกังหันผลิตไฟฟ้า
แล้วปล่อยลงสู่แม่น้ำดังเดิม
โรงไฟฟ้าแบบนี้มีความแตกต่างกับเขื่อนขนาดใหญ่คือ
ไม่จำเป็นที่จะต้องมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่บริเวณเหนือสันเขื่อน แต่ข้อแตกต่างที่สำคัญที่สุดคือ ระดับความแตกต่างของน้ำ(Head) ที่มีค่าน้อยกว่าเขื่อนทั่วไป จึงมักเลือกใช้ Turbine ชนิดKaplan Turbine ซึ่งมีจุดเด่นคือ สามารถทำงานได้ดีที่อัตราการไหลสูง แต่head ต่ำ
ลักษณะของโครงการจะสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดหลักๆคือ
- แบบไม่มีอ่างเก็บน้ำ
โรงไฟฟ้าชนิดนี้จะเน้นผลิตไฟฟ้าสำหรับใช้ในช่วง peak load ซึ่งเป็นช่วงนี้มีผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมากพร้อมๆกัน เช่น ในช่วงฤดูร้อน มีการเปิดเครื่องรับน้ำอย่างต่อเนื่องและเป็นเวลานาน
- แบบมีอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก
โรงไฟฟ้าชนิดนี้จะผลิตไฟฟ้าสำหรับใช้ทั้งในช่วง peak load และbase load เนื่องจากมีอ่างเก็บน้ำช่วยสะสมพลังงานไว้สำหรับผลิตไฟฟ้าในช่วง base load
วีดีโออธิบายการทำงาน
ข้อดี
1.เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เหมือนกับโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำอื่นๆ
ที่ไม่ต้องเผาใหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ทำให้ไม่มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะโลกร้อน
2.ไม่ต้องการพื้นที่เก็บน้ำขนาดใหญ่
จึงสามารถลดปริมาณพื้นที่น้ำท่วมเหนือเขื่อนลงได้
เป็นผลทำให้ไม่ต้องย้ายผู้อยู่อาศัยบริเวณเหนือเขื่อนออก และลดการทำลายพื้นที่ป่าไม้
ข้อเสีย
1.
กำลังการผลิตไฟฟ้าไม่คงที่ เนื่องจากมีที่กักเก็บพลังงานน้อย
ทำให้ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าให้ตรงตามอุปสงค์ในขณะนั้นได้และกำลังการผลิตแปรผันตามฤดูกาล
เช่น โรงไฟฟ้าจะผลิตไฟฟ้าได้มากในช่วงฤดูน้ำหลาก
แต่จะผลิตไฟฟ้าได้น้อยในช่วงฤดูแล้ง
2.
สภาพพื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้า เนื่องจากกำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้มาจากความดัน
(head) และอัตราการไหลของน้ำจึงต้องการพื้นที่ที่มีความลาดเอียงมากเพื่อลดค่าก่อสร้าง
3.
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
หากก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่จะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เช่น โครงการโรงไฟฟ้าของ Plutonic
Power Corp. ที่ Bute Inlet, British Columbia, Canada มีการแบ่งทางไหลของแม่น้ำออกเป็น 17 สาย
เพื่อเข้าสู่อุโมงค์และท่อส่งของโรงไฟฟ้า ทำให้อัตราการไหลของแม่น้ำลดลง
น้ำในแม่น้ำจึงมีอุณหภูมิสูงขึ้นเกินกว่าที่ปลาจะอาศัยอยู่ได้ในช่วงฤดูร้อน
โครงสร้างและเทคโนโลยี
โครงสร้างของRiver power plant นั้นมีลักษณะเดียวกันกับเขื่อนขนาดใหญ่ ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้
1.Headpound : สันเขื่อน : เป็นส่วนโครงสร้างสำหรับการผันน้ำ หรือกักเก็บน้ำ
2.Intake : ทางน้ำเข้า :
3.Penstock : ท่อส่งน้ำ : ทำหน้าที่ส่งน้ำจากเขื่อนมายังโรงผลิตไฟฟ้า ในโครงการRiver plant หลายแห่ง ท่อส่งน้ำนี้มีความยาวมาก เนื่องจากตัวเขื่อนและโรงผลิตไฟฟ้า อยู่ห่างกันมาก เนื่องจากต้องการHead ที่มากพอที่จะใช้ผลิตไฟฟ้า
4.Power house : โรงผลิตไฟฟ้า : ส่วนอาคารสำหรับผลิตไฟฟ้า
5.Turbine : กังหัน : ทำหน้าที่เปลี่ยนการไหลของน้ำให้เป็นพลังงานกล
6.Draft Tube : ทางน้ำออกจาก Turbine มีลักษณะบานออกเพื่อลดความเร็วการไหลของน้ำ
7.Generator : เครื่องกำเนิดไฟฟ้า : เปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้า
8.Transformer : หม้อแปลงแรงดันสูง : ปรับแรงดันของไฟฟ้าที่ผลิตได้ ให้เหมาะสมต่อระบบส่งไฟฟ้า
ตัวอย่างโรงไฟฟ้าที่น่าสนใจ
โรงไฟฟ้า Belo Monte
- มี 3 เขื่อน โดยเขื่อนหลักคือ Belo Monte
- ตำแหน่งที่ตั้ง Xingu river, state of Para, Brazil
กำลังการผลิตไฟฟ้าสูงสุด 11,233 MW
ประกอบด้วย
- 20 vertical Francis Turbines ขนาด 550 MW
- 7 Kaplan Bulb Turbines ขนาด 25.9 MW
โรงไฟฟ้า Gasselsdorf
ตำแหน่งที่ตั้ง: Schwarze Sulm river รัฐ Styria ประเทศ Austria
อดีตโรงสีเก่าaซึ่งถูกสร้างขึ้นในปี1918 แล้วถูกเปลี่ยนให้เป็นโรงผลิตไฟฟ้า ลักษณะ River Power Plant ในปี1984 โดยวิศวะกรรายหนึ่ง
กำลังการผลิต : 1MW
อ้างอิง :
http://en.wikipedia.org/wiki/Run-of-the-river_hydroelectricity
http://www.verbund.com/pp/en/run-of-river-power-plant/gasselsdorf
อ้างอิง :
http://en.wikipedia.org/wiki/Run-of-the-river_hydroelectricity
http://www.verbund.com/pp/en/run-of-river-power-plant/gasselsdorf